วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การป้องกันยาเสพติด

ป้องกันยาเสพติด

1.             ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
2.             ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
3.             ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ยาเสพติดแบ่งออกได้ 4 ประเภท
1.             ประเภทหลอนประสาท
        ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ เห็ดขี้ควาย  แอลเอสดี ฯลฯ  สำหรับแอลเอสดีจะมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น  มักพบอยู่ในรูปของกระดาษเคลือบในลักษณะแสตมป์  (magicpaper) เม็ดกลมแบน   กลมรี   แคปซูล  ส่วนเห็ดขี้ควายมีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงเมื่อบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการเมา  เคลิบเคลิ้ม และถึงขนาดบ้าคลั่งในที่สุด  ฤทธิ์ของยาเสพติดกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทสมองส่วนสัมผัสทั้ง 5 โดยฤทธิ์ของยาเสพติดกลุ่มนี้จะไปบิดเบือนทำให้การมองเห็น  การได้ยิน  การชิมรส  การสัมผัส และการดมกลิ่น เปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นจริงเห็นภาพลวงตาเป็นจินตนาการที่มีทั้งที่ดี  สวยงามและน่ากลัวจนไม่สามารถควบคุมได้  และถ้าฤทธิ์หลอนประสาทเกิดขึ้นมาก ๆ จะทำให้ผู้เสพกลายเป็นคนบ้าได้ในที่สุด อาการของยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
        ยาเสพติดพวกนี้ทำให้เกิดประสาทหลอนได้อย่างมาก    โดยทำลายประสาทสมองให้การรับรู้รับสัมผัสอย่างผิดแผกไปจากความจริงทั้งหมดเกิดอันตรายต่อร่างกายเช่น  เพ้อคลั่ง ทุรนทุรายหรือเกิดอุบัติเหตุแก่ชีวิตได้ง่าย  เพราะการหลงผิด และตัดสินใจผิดจากที่ควรจะเป็น
ยาเคตามีน (Ketamine)เป็นยาเสพติดที่ผลิตขึ้นโดยการสังเคราะห์  จัดให้เป็นยาควบคุมพิเศษใช้ในทางการแพทย์เป็นยาสลบสำหรับผ่าตัดระยะสั้น  มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง  เรียกกัน
ทั่วไปว่า ยาเค หรือ เคตามีน เคตาวา , เคตารา โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปผงแคปซูล  ยาเม็ด  ผลึกและสารละลาย
อาการของผู้เสพยาเคมีการนำเคตามีนมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อให้เกิความมึนเมา นิยมเสพ โดยการนัตถุ์ หรือสูดดม จะมีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม  รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ ซึ่งสร้างความสุขให้คล้ายกับอาการหลอนทางประสาท  ผู้ที่ใช้ยาจะมีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด  ตาลาย  ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ความคิดสับสน ถ้าใช้เคตามีนในปริมาณที่มากเกินไป  อาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด ทำให้เสียชีวิตได้ 
  เห็ดขี้ควาย  เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งจัดอยู่ในจำพวกยาเสพติดประเภทหลอนประสาท  มีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงเมื่อบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการเมา  เคลิบเคลิ้ม และถึงขนาดบ้าคลั่งในที่สุด 


2.       ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
          ยาเสพติดประเภทผสมผสาน  ผู้เสพจะมีอาการโดยเบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว ร่าเริง ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า  มีอาการง่วงนอน เซื่องซึม เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท อาจเห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีการหวาดระแวง ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ได้ ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง 
           กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า  ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง  สาที่ทำให้เสพติดเป็นน้ำมันกัญชา ซึ่งอยู่ในใบและยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย  นิยมเสพโดยวิธีสูบด้วยบ้องกัญชาหรือมวนบุหรี่สูบ
           อาการของผู้เสพกัญชา  เบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว  ร่าเริง  ช่างพูด  หัวเราะ  ตลอดเวลาต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า  มีอาการง่วงนอน เซื่องซึม  เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท  อาจเห็นภาพลวงตา  หูแว่ว  หรือมีการหวาดระแวง  ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ได้  ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง 


3.             ประเภทกระตุ้นประสาท
               ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท  มีผลต่อระบบประสาททำให้ประสาทตึงเครียด ความคิดสับสน เกิดภาพหลอน  เพ้อคลั่งคล้ายคนเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวงหรือเป็นบ้าได้ตื่นเต้นง่าย  พูดมาก  มือสั่น  เหงื่อออกมาก  นอนไม่หลับ  กลิ่นตัวแรง  ปากและจมูกแห้ง  ริมฝีปากแตก รูม่านตาเบิกกว้าง  หัวใจเต้นแรงและเร็ว  ปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดท้องอย่างรุนแรง ยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่  ยาบ้า  โคเคน  เอ็คตาซี  กระท่อม
              ยาบ้า เป็นสารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบมีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น  ยาขยัน  ยาแก้ง่วง  ยาโด๊ป  อาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ  กลมแบน  รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ  หรือแคปซูล และมีสีต่าง ๆกัน เช่น ขาว เหลือง น้ำตาล เขียว ฯลฯ มักพบแพร่หลายในลักษณะกลมแบน  สีขาว  มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ  เช่น  รูปหัวม้าและอักษร LONDON  รูปดาว  รูปอักษร 99, 44 และ M เป็นต้นและอาจมีชื่อเรียกต่าง ๆกัน ออกไปนิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร  หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย
              อาการของผู้เสพยาบ้า ตื่นเต้นง่าย  พูดมาก  มือสั่น  เหงื่อออกมาก  นอนไม่หลับ  ปากและจมูกแห้ง  ริมฝีปากแตก  รูม่านตาเบิกกว้างหัวใจเต้นเร็ว  ปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร ประสาทตึงเครียด  ความคิดสับสน  เมื่อเสพไปนาน ๆ หรือเสพจำนวนมากจะทำให้เกิดภาพหลอนเพ้อคลั่งคล้ายคนเป็นโรคประสาทหวาดระแวงเป็นบ้าได้
              โคเคน เป็นสารที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นผงสีขาวผลึกเป็นก้อนใส รสขมไม่มีกลิ่น  ต้นโคคาจะมีลักษณะพิเศษคือเส้นกลางใบจะเป็นสันนูนออกมาให้เห็นทั้งด้านหน้า และด้านหลังของใบ  การผลิตโคเคนจะต้องนำใบโคเคนไปแปรสภาพ โดยอาศัยอุปกรณ์และน้ำยาเคมีต่าง ๆ สำหรับโคเคนที่แพร่ระบาดพบว่าเป็นโคเคนที่อยู่ในรูปของโคเคนไฮโดรคลอไรด์มีลักษณะผลึกสีขาวและละลายน้ำได้ดีเสพโดยการสูดเข้าไปในโพรงจมูกให้เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทอย่างรวดเร็ว
              อาการของผู้เสพโคเคน ในระยะแรกที่เสพโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึก  ดูเหมือนมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่าไม่รู้สึกเหนื่อย เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายจะอ่อนเพลียและเมื่อยล้าขึ้นทันที เซื่องซึม ถ้าเสพถึงขั้นติดยาจะมีผลทำให้หัวใจเต้นแรง  ความดันโลหิตสูง ตัวร้อนมีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ   เอ็คซ์ตาซี     เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ส่นประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ 3,4  Methylenedioxymethamphetamine ,  MDMA (เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน)ในประเทศไทยกำหนดให้สารนี้ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1  มักจะพบในลักษณะที่เป็นแคปซูลทั้งขนาดเล็กและใหญ่สีต่าง ๆหรือเป็นเม็ดกลมแบน  สีขาว  สีน้ำตาล  สีชมพู  ในบางประเทศ

รู้จักกันในนามยา “E” หรือ “ADAM” เอ็คซ์ตาวี มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับยาบ้าแต่รุนแรงมากกว่าจะออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปแล้วประมาณ 30-45 นาที และจะมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ยาเอ็คซ์ตาซีจะออกฤทธิ์อย่างเงียบ ๆ โดยมีผลทำให้สำเหนียกของการได้ยินเสียงและการมองเห็นสีสูงเกินปกติ  การออกฤทธิ์ในระยะสั้น ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกปากแห้ง ไม่มีอาการหิวหัวใจเต้นเร็ว และความดันสูง มีอาการคลื่นเหียน บางครั้งก็มีอาการเกร๊งที่แขนขา และขากรรไกร ผู้เสพอาจจะรู้สึกสัมผัสสิ่งต่าง ๆรุนแรงขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย  มึนและสงบ  หลังจากนั้นผู้เสพอาจรู้สึกเหนื่อย และกดดันยังไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า  เอ็คซ์ตาซีเป็นยาโป๊วที่ช่วยในเรื่องเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด 
     ·         มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ

·         ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
·         สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
·         ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
·         เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
·         อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม
 การสังเกตผู้ติดวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
·         ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
·         ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
·         ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
·         ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
·         ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
·         ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความ
4
จริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ.
4.             ประเภทกดประสาท
         ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แล็กเกอร์ กาว เป็นต้น  มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการอ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายมีปฏิกิริยาตอบสนองในภาวะฉุกเฉินช้า  เวลาขับรถจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น