วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
http://www.thanyarak.go.th/thai/index. วันที่ 17 มิ.ย 2556
http://blog.eduzones.com/grip/3298 วันที่ 17 มิ.ย 2556
http://blog.eduzones.com/grip/3299 วันที่ 17 มิ.ย 2556
http://blog.eduzones.com/grip/3300 วันที่ 17 มิ.ย 2556
ชนิดของยาเสพติด
ชนิดของยาเสพติด
ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น
กระท่อม
ฝิ่น
ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
ยาบ้า
เฮโรอีน
แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้
9
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่เสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมา
โทษของยาเสพติด
1. โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามั่ว น้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย
ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด เป็นต้น
2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4. โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ
การป้องกันยาเสพติด
ป้องกันยาเสพติด
1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ยาเสพติดแบ่งออกได้ 4 ประเภท
1. ประเภทหลอนประสาท
ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี ฯลฯ สำหรับแอลเอสดีจะมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มักพบอยู่ในรูปของกระดาษเคลือบในลักษณะแสตมป์ (magicpaper) เม็ดกลมแบน กลมรี แคปซูล ส่วนเห็ดขี้ควายมีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงเมื่อบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการเมา เคลิบเคลิ้ม และถึงขนาดบ้าคลั่งในที่สุด ฤทธิ์ของยาเสพติดกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทสมองส่วนสัมผัสทั้ง 5 โดยฤทธิ์ของยาเสพติดกลุ่มนี้จะไปบิดเบือนทำให้การมองเห็น การได้ยิน การชิมรส การสัมผัส และการดมกลิ่น เปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นจริงเห็นภาพลวงตาเป็นจินตนาการที่มีทั้งที่ดี สวยงามและน่ากลัวจนไม่สามารถควบคุมได้ และถ้าฤทธิ์หลอนประสาทเกิดขึ้นมาก ๆ จะทำให้ผู้เสพกลายเป็นคนบ้าได้ในที่สุด อาการของยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
ยาเสพติดพวกนี้ทำให้เกิดประสาทหลอนได้อย่างมาก โดยทำลายประสาทสมองให้การรับรู้รับสัมผัสอย่างผิดแผกไปจากความจริงทั้งหมดเกิดอันตรายต่อร่างกายเช่น เพ้อคลั่ง ทุรนทุรายหรือเกิดอุบัติเหตุแก่ชีวิตได้ง่าย เพราะการหลงผิด และตัดสินใจผิดจากที่ควรจะเป็น
ยาเคตามีน (Ketamine)เป็นยาเสพติดที่ผลิตขึ้นโดยการสังเคราะห์ จัดให้เป็นยาควบคุมพิเศษใช้ในทางการแพทย์เป็นยาสลบสำหรับผ่าตัดระยะสั้น มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง เรียกกัน
ทั่วไปว่า ยาเค หรือ เคตามีน เคตาวา , เคตารา โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปผงแคปซูล ยาเม็ด ผลึกและสารละลาย
อาการของผู้เสพยาเคมีการนำเคตามีนมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อให้เกิความมึนเมา นิยมเสพ โดยการนัตถุ์ หรือสูดดม จะมีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ ซึ่งสร้างความสุขให้คล้ายกับอาการหลอนทางประสาท ผู้ที่ใช้ยาจะมีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ความคิดสับสน ถ้าใช้เคตามีนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด ทำให้เสียชีวิตได้
เห็ดขี้ควาย เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งจัดอยู่ในจำพวกยาเสพติดประเภทหลอนประสาท มีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงเมื่อบริโภคเข้าไปจะเกิดอาการเมา เคลิบเคลิ้ม และถึงขนาดบ้าคลั่งในที่สุด
2. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
ยาเสพติดประเภทผสมผสาน ผู้เสพจะมีอาการโดยเบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว ร่าเริง ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า มีอาการง่วงนอน เซื่องซึม เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท อาจเห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีการหวาดระแวง ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ได้ ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง
กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง สาที่ทำให้เสพติดเป็นน้ำมันกัญชา ซึ่งอยู่ในใบและยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย นิยมเสพโดยวิธีสูบด้วยบ้องกัญชาหรือมวนบุหรี่สูบ
อาการของผู้เสพกัญชา เบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว ร่าเริง ช่างพูด หัวเราะ ตลอดเวลาต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า มีอาการง่วงนอน เซื่องซึม เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท อาจเห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีการหวาดระแวง ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ได้ ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง
3. ประเภทกระตุ้นประสาท
ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท มีผลต่อระบบประสาททำให้ประสาทตึงเครียด ความคิดสับสน เกิดภาพหลอน เพ้อคลั่งคล้ายคนเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวงหรือเป็นบ้าได้ตื่นเต้นง่าย พูดมาก มือสั่น เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง ริมฝีปากแตก รูม่านตาเบิกกว้าง หัวใจเต้นแรงและเร็ว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้องอย่างรุนแรง ยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่ ยาบ้า โคเคน เอ็คตาซี กระท่อม
ยาบ้า เป็นสารสังเคราะห์มีแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบมีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป อาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล และมีสีต่าง ๆกัน เช่น ขาว เหลือง น้ำตาล เขียว ฯลฯ มักพบแพร่หลายในลักษณะกลมแบน สีขาว มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON รูปดาว รูปอักษร 99, 44 และ M เป็นต้นและอาจมีชื่อเรียกต่าง ๆกัน ออกไปนิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย
อาการของผู้เสพยาบ้า ตื่นเต้นง่าย พูดมาก มือสั่น เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ปากและจมูกแห้ง ริมฝีปากแตก รูม่านตาเบิกกว้างหัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ประสาทตึงเครียด ความคิดสับสน เมื่อเสพไปนาน ๆ หรือเสพจำนวนมากจะทำให้เกิดภาพหลอนเพ้อคลั่งคล้ายคนเป็นโรคประสาทหวาดระแวงเป็นบ้าได้
โคเคน เป็นสารที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นผงสีขาวผลึกเป็นก้อนใส รสขมไม่มีกลิ่น ต้นโคคาจะมีลักษณะพิเศษคือเส้นกลางใบจะเป็นสันนูนออกมาให้เห็นทั้งด้านหน้า และด้านหลังของใบ การผลิตโคเคนจะต้องนำใบโคเคนไปแปรสภาพ โดยอาศัยอุปกรณ์และน้ำยาเคมีต่าง ๆ สำหรับโคเคนที่แพร่ระบาดพบว่าเป็นโคเคนที่อยู่ในรูปของโคเคนไฮโดรคลอไรด์มีลักษณะผลึกสีขาวและละลายน้ำได้ดีเสพโดยการสูดเข้าไปในโพรงจมูกให้เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทอย่างรวดเร็ว
อาการของผู้เสพโคเคน ในระยะแรกที่เสพโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือนมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่าไม่รู้สึกเหนื่อย เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายจะอ่อนเพลียและเมื่อยล้าขึ้นทันที เซื่องซึม ถ้าเสพถึงขั้นติดยาจะมีผลทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อนมีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ เอ็คซ์ตาซี เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ส่นประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ 3,4 Methylenedioxymethamphetamine , MDMA (เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน)ในประเทศไทยกำหนดให้สารนี้ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 มักจะพบในลักษณะที่เป็นแคปซูลทั้งขนาดเล็กและใหญ่สีต่าง ๆหรือเป็นเม็ดกลมแบน สีขาว สีน้ำตาล สีชมพู ในบางประเทศ
รู้จักกันในนามยา “E” หรือ “ADAM” เอ็คซ์ตาวี มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับยาบ้าแต่รุนแรงมากกว่าจะออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปแล้วประมาณ 30-45 นาที และจะมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ยาเอ็คซ์ตาซีจะออกฤทธิ์อย่างเงียบ ๆ โดยมีผลทำให้สำเหนียกของการได้ยินเสียงและการมองเห็นสีสูงเกินปกติ การออกฤทธิ์ในระยะสั้น ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกปากแห้ง ไม่มีอาการหิวหัวใจเต้นเร็ว และความดันสูง มีอาการคลื่นเหียน บางครั้งก็มีอาการเกร๊งที่แขนขา และขากรรไกร ผู้เสพอาจจะรู้สึกสัมผัสสิ่งต่าง ๆรุนแรงขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย มึนและสงบ หลังจากนั้นผู้เสพอาจรู้สึกเหนื่อย และกดดันยังไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า เอ็คซ์ตาซีเป็นยาโป๊วที่ช่วยในเรื่องเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด
· มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
· ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
· สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
· ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
· เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
· อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม
การสังเกตผู้ติดวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
· ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
· ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
· ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
· ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
· ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
· ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความ
4
จริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ.
4. ประเภทกดประสาท
ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แล็กเกอร์ กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการอ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายมีปฏิกิริยาตอบสนองในภาวะฉุกเฉินช้า เวลาขับรถจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
สาเหตุของการติดยาเสพติด
สาเหตุของการติดยาเสพติด
การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
· ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
· เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
· มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
· ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
· สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
· ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
· เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
· อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม
การสังเกตผู้ติดวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
· ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
· ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
· ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
· ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
· ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
· ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความ
4
จริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ.
ประเภทของยาเสพติด
ประเภทของยาเสพติด
สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
ความรู้เกี่ยวกับสารกล่อมยาเสพติด
สิ่งเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
2
2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา
จำแนกตามแหล่งที่มา
1. จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
2. จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
1. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
2. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
คำนำ
คำนำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่คงเหลือและสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทุกพื้นที่ ทุกฐาน ทั้งชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ และสามารถรักษาสถานภาพไม่ให้ปัญหายาเสพติดหวนกลับมารุนแรง โดยรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด ปรากฏอยู่ในนโยบายของรัฐบาลในด้านสังคมและการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดยังคงมีความสำคัญ ซึ่งการบรรลุภารกิจให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะการเน้นในเรื่องของการเฝ้าระวังและรักษาสถานภาพของสถานการณ์ปัญหาไม่ให้ปัญหาหวนกลับ เพื่อสถาปนาความั่นคง สร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาให้ประเทศอย่างแท้จริงแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของหน่วยงานในส่วนกลางประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในแต่ละมาตรการ เพื่อที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านแผนงาน และงบประมาณจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ วางแผน หรือติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรการรวบรวมข้อมูลในปีนี้ยังมีข้อจำกัด หากมีข้อมูลที่ขาดตกไปในส่วนใดขอได้โปรดแจ้งให้ผู้จัดทำปรับปรุงแก้ไขต่อไป
การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ ที่ท่านอาจารย์
ศุภสัณห์ แก้วสำราญ ได้ให้คำแนะนำ การเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติ
จัดทำโดย
นางสาวพรกนก สุปินบุตร
รายงาน เรื่อง ประเภทของยาเสพติด
รายงาน
เรื่อง ประเภทของยาเสพติด
เสนอ
อาจารย์ ศุภสัณห์ แก้วสำราญ
จัดทำโดย
นางสาว พรกนก สุปินบุตร
เลขที่ 30 ชั้น ม .6/2
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
( รหัสวิชา ง.30204 )
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2256
โรงเรียนเมืองกระบี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)